ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรม (Behavioral Theories)
นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยมได้จำแนกพฤติกรรมมนุษย์ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
- พฤติกรรมเรสปอนเดนส์(Respondent Behavior) หมายถึง พฤติกรรมที่เกิดขึ้นโดยสิ่งเร้า เมื่อมีสิ่งเร้าพฤติกรรมตอบสนองก็จะเกิดขึ้น ซึ่งจะสามารถวัดและสังเกตได้ และทฤษฎีที่นำมาใช้ในการอธิบายกระบวนการเรียนรู้ประเภทนี้เรียกว่า ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning Theory) ซึ่งจะมีแนวคิดของพาฟลอฟ(Pavlov) และ แนวคิดของ(Watson)
- แนวคิดของพาฟลอฟ(Pavlov) สั่นกระดิ่งก่อนที่จะนำผงเนื้อให้สุนัข เวลาที่สั่นกระดิ่งและให้ผงเนื้อจะต้องกระชั้นชิดกันมาก กระทำแบบนี้ซ้ำเรื่อยๆหลายๆครั้ง และสุดท้ายหยุดให้ชิ้นเนื้อแต่สั่นกระดิ่งเพียงอย่างเดียวเท่านั้นแต่สุนัขก็ยังคงน้ำลายไหลได้ ทั้งๆที่ได้ยินแต่เสียงกระดิ่ง
จะเห็นได้ว่าครั้งแรกสุนัขไม่มีปฏิกิริยาใดๆ
ต่อกระดิ่ง จนกระทั่งเมื่อสั่นกระดิ่งแล้วได้รับผง
เนื้อ ครั้งต่อไปสนุขจะมีปฏิกิริยาต่อเสียงกระดิ่งคือ น้ำลายไหล นั่นคือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม หรือเกิดการเรียนรู้นั่นเอง
ต่อกระดิ่ง จนกระทั่งเมื่อสั่นกระดิ่งแล้วได้รับผง
เนื้อ ครั้งต่อไปสนุขจะมีปฏิกิริยาต่อเสียงกระดิ่งคือ น้ำลายไหล นั่นคือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม หรือเกิดการเรียนรู้นั่นเอง
- แนวคิดของวัตสัน(Watson) การเรียนรู้เกิดจากความใกล้ชิดระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง โดยไม่จำเป็นต้องมีการเสริมแรง การตอบสนองที่มีเงื่อนไขก็คือความกลัว โดยการนำหนูขาวมาทำารทดสอบ มีวิธีการคือเวลาที่เด็กจะจับหนูผู้ใหญ่จะทำให้เกิดเสียงดัง เด็กก็จะเกิดความกลัวว่าเวลาจะจับหนูจะมีเสียงดัง ทำให้เด็กไม่กล้าจับหนูอีกต่อไป จนกระทั่งวัตสันได้แก้ความกลัวโดยให้แม่ของเด็กทารกอุ้มเด็ก และบอกว่าหนูขาวไม่ได้น่ากลัวและได้ลูบตัวหนูขาวให้ดู ทารกจึงหายกลัวหนูขาวในที่สุด
2. พฤติกรรมโอเปอร์แรนต์ (Operant Behavior) คือพฤติกรรมที่เกิดขึ้นโดยปราศจากสิ่งเร้าที่แน่นอน ทฤษฎีที่นำมาใช้ อธิบายกระบวนการเรียนรู้ประเภทนี้เรียกว่า ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบลงมือกระทำ (Operant Conditioning Theory) โดยมีแนวคิดของ ธอร์นไค์(Thorndike) และแนวคิดของสกินนเนอร์ (Skinner)
-แนวคิดของ ธอร์นไค์(Thorndike) เป็นแบบลองผิดชองถูก ไม่ใช่การใช้สติปัญญาในการแก้ปัญหา โดยการนำแมวที่กำลังหิวมาขังไว้ในกรงจากนั้นนำอาหารมาวางไว้ข้างนอก แมวก็จะพยายามหาวิธีออกจากกรงเพื่อไปกินอาหาร เมื่อทำได้ครั้งต่อไปแมวจะสามรถออกจากกรงได้เร็วกว่าครั้งแรกเพราะมีประสบการณ์แล้ว
- แนวคิดของสกินนเนอร์ Skinner (ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบโอเปอร์แรนต์)การเรียนรู้เกิดจากการลงมือทำ และถ้าหากได้รับการเสริมแรง จะทำให้เกิดพฤติกรรมนั้นซ้ำอีกเรื่อยๆ เช่น นักเรียนทำคะแนนได้เยอะและครูมีรางวัลให้ ก็จะทำให้นักเรียนมีความพยายามทำคะแนนให้ได้เยอะๆเพื่อที่จะได้ของรางวัลอีก, ไม่ว่าแต่กับคนเพียงอย่างเดียวสัตว์โลกทั่วไปก็สามารถใช้ทฤษฏีการวางเงื่อนไนแบบโอเปอร์แรนต์ได้เหมือนกัน
การใช้แรงเสริมในการสอนนั้นมีผลทำให้ความเร็วในการทำงานเร็วขึ้น เช่น ครุพูดว่า ถ้านักเรียนทำการบ้านเสร็จครูก็จะให้นักเรียนนอนไปเล่นที่สนามหญ้าได้ นักเรียนก็จะพยายามทำงานให้เสร็จโดยเร็วที่สุด เพราะต้องการออกไปเล่น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น